ตัวแปรและชนิดข้อมูล

ตัวแปร คือ ชื่อที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้เก็บค่าในหน่วยความจำสำหรับนำไปใช้งานในโปรแกรม ซึ่งอาจจะถูกใช้จากการรับข้อมูล เก็บค่าคงที่ ข้อความ หรือผลลัพธ์การทำงาน ในการกำหนดชื่อตัวแปรต้องเป็นชื่อที่ไม่ตรงกับคำสงวน ซึ่งคำสงวนจะกล่าวถึงในลำดับต่อไป

ตัวแปร ถ้าให้มองแบบเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ชื่อที่เราตั้งขึ้นมา ตั้งชื่อว่าอะไรก็ได้ ตั้งขึ้นมาเพื่อเอาไว้เก็บข้อมูลต่าง ๆ ในโปรแกรม ตัวอย่างชื่อที่ตั้งขึ้นมาเองเช่น name ตั้งขึ้นมาเพื่อเอาไว้เก็บชื่อ tel ชื่อตัวแปรที่กำหนดขึ้นมาเพื่อเก็บเบอร์โทร เป็นต้น 

หลักการตั้งชื่อตัวแปร

การตั้งชื่อตัวแปรไม่ใช่ว่าจะตั้งชื่ออย่างไรก็ได้ เพราะเราอาจเผลอไปตั้งชื่อตัวแปรที่ตรงกับคำสงวน ที่โปรแกรมห้ามตั้งซ้ำกับคำสงวนอยู่แล้ว อาจทำให้โปรแกรมที่เขียนเกิด Error ได้ หลักการตั้งชื่อตัวแปรที่ถูกต้องในภาษาไพธอนมีดังนี้
  1. ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ แล้วตามด้วยตัวอักษรหรือตัวเลขใดๆก็ได้
  2. ห้ามเว้นช่องว่าง และห้ามใช้สัญลักษณ์พิเศษนอกเหนือจาก underscore "_" เท่านั้น
  3. ตัวอักษรของชื่อจะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างอักษรตัวพิมพ์ใหญ่กับตัวพิมพ์เล็ก
  4. การตั้งชื่อมีข้อพึงระวังว่า จะต้องไม่้ซ้ำกับคำสงวน (Reserved word, Keyword)
  5. ควรจะตั้งชื่อโดยให้ชื่อนั้นมีสื่อความหมายให้เข้ากับข้อมูล สามารถอ่านและเข้าใจได้
  6. ห้ามใช้เครื่องหมายต่อไปนี้ในการตั้งชื่อตัวแปร !,@, #, $, %, ^, &, *, (, ), -, =, \, |, +, ~
  7. ตัวแปรที่มีพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กผสมกันจะมีความหมายต่างกัน กับตัวพิมพ์เล็กเพียงอย่างเดียว

 ตัวอย่างการตั้งชื่อตัวแปร
 

teerapon

dog

cat

chada

chadatharn

chadaporn

CHADA

CHADATHARN

number

ChaDa

ChaDaTharn

Number

ChadA

ChadaTharN

NUMBER

eyes

Dek1

Uma_porn

EYES

DEK1

text

nam

NAM

TEXT

ชื่อตัวแปรเราจะกำหนดเป็นชื่ออะไรก็ได้ไม่บังคำ ขอเพียงอยู่ในกฏการตั้งชื่อตัวแปรดังที่กล่าวมาแล้ว และชื่อตัวแปรต้องไม่ตั้งซ้ำกับคำสงวนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคำหลัก keyword ซึ่งคำสงวนคือคำสั่งของภาษาไพธอนที่สงวนไว้ใช้โดยเฉพาะ เราห้ามตั้งซ้ำกับคำสงวนเด็ดขาด คำสงวนมีดังนี้

noneusevariable


วิธีการประกาศตัวแปรในภาษาไพธอนทำได้ดังนี้
ชื่อตัวแปร  = ค่าข้อมูลที่จะเก็บ  
number = 100;
เป็นการประกาศตัวแปรชื่อว่า number มีค่าข้อมูลเก็บไว้คือเลข 100

ชนิดข้อมูลของตัวแปร
เป็นการกำหนดประเภทข้อมูลของตัวแปรที่สร้างขึ้นมาว่า ข้อมูลนั้นมีลักษณะอย่างไร โดยชนิดข้อมูลที่มักจะใช้งานบ่อย ได่แก่ ข้อมูลชนิดตัวเลข จำนวนเต็ม จำนวนจริง อักขระ หรือข้อความ

  1.  ข้อมูลชนิดตัวอักษร (Character) คือ ข้อมูลที่เป็นรหัสแทนตัวอักษรหรือค่าอักขะ  
  2. ข้อมูลชนิดข้อความ(string) คือชนิดข้อมูลที่เก็บชุดตัวอักขะตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป                                                              
  3. ข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม (Integer)  คือข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็ม  ได้แก่ จำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ ศูนย์ ใช้พื้นที่ในการเก็บ 2 ไบต์                   
  4. ข้อมูลชนิดเลขทศนิยม (Float) คือข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยม ขนาด 4 ไบต์   

โดยใน Python นั้นมีให้เราเลือกเก็บมากมาย แต่ก็จะมีเพียง 6 ประเภทที่เราจะได้ใช้งานกันบ่อย ๆ ดังต่อไปนี้

ประเภทข้อมูลประเภทข้อมูลที่จัดเก็บตัวอย่างข้อมูลที่จัดเก็บได้
String ตัวอักษร "kumamon" "1112"
Boolean ค่าจริงหรือเท็จ True False
Float ค่าที่มีจุดทศนิยม 1.00 1.112 -0.999
Integer จำนวนเต็ม 2000 0 -1
List ลิสต์ [1, 0, -555]
Dictionary ดิกชันแนรี [{'a': '1112', 'b': 0, 'c': 555}]

 

ตัวอย่างการประกาศตัวแปรในภาษาไพธอน
วิธีที่ 1 ประกาศตัวแปรแบบไม่ระบุชนิดข้อมูล
    num = 100; 
วิธีที่ 2 การประกาศตัวแปรแบบระบุชนิดข้อมูลลงไปด้วย
    num=int(100);  num คือชื่อตัวแปร  int คือชนิดข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม ย่อมาจาก integer และ 100 ในวงเล็บคือค่าข้อมูลของตัวแปร num
เวลาเราประกาศตัวแปรในภาษาไพธอนเราจะประกาศวิธีไหนก็ได้ ระบุชนิดข้อมูลหรือไม่ระบุก็ได้ แต่หากต้องการใช้ค่าตัวเลขในตัวแปรเพื่อคำนวณให้แม่นยำ เราควรระบุชนิดข้อมูลเหมือนวิธีที่ 2 เพื่อให้ตัวแปลภาษาของไพธอนรู้ว่าข้อมูลที่อยู่ภายในตัวแปรเป็นข้อมูลตัวเลข เพราะหากไม่รุบุชนิดข้อมูลลงไป ตัวแปรภาษาไพธอนจะมองข้อมูลในตัวแปรเป็นตัวอักษร ถึงแม้เราจะพิมพ์ตัวเลขลงไปก็ตาม

ตัวอย่างการประกาศตัวแปรชนิดตัวอักษรในภาษาไพธอน
    name="Teerapon";
name คือชื่อตัวแปร Teerapon คือค่าข้อมูลชนิดตัวอักษร ซึ่งต้องระบุค่าข้อมูลภายในเครื่องหมาย "" 
หรือเราจะประกาศตัวแปรแบบระบุชนิดข้อมูลเข้าไปด้วยก็ได้ ตัวอย่างเช่น
    name=str("teerapon");
name คือชื่อตัวแปร str คือชนิดข้อมูลชนิดตัวอักษรหรือสายอักขระ ย่อมาจาก string และท้ายสุดคือ teerapon ที่อยู่ภายใต้เครื่องหมาย "" คือค่าข้อมูลของตัวแปร name ที่เราประกาศขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า ไพธอนมีความยืดหยุ่น เราจะระบุชนิดข้อมูล หรือไม่ระบุชนิดข้อมูลลงไป โปรแกรมก็รันได้เหมือนเดิม

  • ฮิต: 679