ดูเนื้อหารูปแบบไฟล์ PowerPoint คลิกที่นี่ 

คำสั่ง if คืออะไร

คำสั่ง if เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของโปรแกรมที่เป็นพื้นฐานและง่ายที่สุด เราใช้คำสั่ง if เพื่อสร้างเงื่อนไขให้โปรแกรมทำงานตามที่เราต้องการเมื่อเงื่อนไขนั้นตรงกับที่เรากำหนด เช่น การตรวจสอบค่าในตัวแปรกับตัวดำเนินการประเภทต่างๆ คำสั่ง if จะทำงานเมื่อเงื่อนไขที่อยู่ด้านหลังเป็นจริงเท่านั้น หากเงื่อนไขด้านหลังคำสั่งเป็นเท็จ โปรแกรมจะข้ามไปทำงานในคำสั่งถัดไป นั่นคือคำสั่ง elif

if statement

สามารถเขียนได้โดยใช้คึเวิร์ด if นำหน้า ตามด้วย condition และเครื่องหมาย colon
เช่น

a = 2
b = 4

if a < b:
  print(‘b is greater than a’)




ย่อหน้าหรือ Indentation Python จำเป็นต้องใช้การย่อหน้าในการกำหนด scope ในโค้ดบล็อก (จะใช้ tab ที่อยู่ซ้ายมือด้านบนหรือกดเว้นวรรค 2 ครั้งก็ได้) หากไม่ใส่ย่อหน้า เมื่อรันโปรแกรม จะเกิด error 

elif เป็นคีย์เวิร์ดที่ใช้ต่อจาก if statement หาก condition หรือเงื่อนไขที่ให้ไว้ก่อนหน้านี้ไม่เป็นจริง เช่น a = 10 b = 5 if a < b: print(‘b is greater than a’) elif a > b: print(‘a is greater than b’)

else เป็นคีย์เวิร์ดที่ใช้สำหรับเงื่อนไขอันสุดท้าย หากเงื่อนไขอื่นๆทั้งหมดที่กล่าวไปแล้วไม่เป็นจริง การเขียน else statement ไม่ต้องใส่เงื่อนไข สามารถใส่ colon แล้วเคาะบรรทัดใหม่เพื่อเขียน consequence ได้เลย เช่น a = 20 b = 20 if a > b: print(‘a is greater than b’) if a < b: print(‘b is greater than a’) else: print(‘They are equal’) สามารถใช้ else โดยไม่ต้องใช้ elif ได้ เช่น a = 10 b = 5 if a < b: print(‘b is greater than a’) else: print(‘a is greater than b’)

ตัวอย่างการใช้งานคำสั่ง if ในภาษาไพธอน


คำสั่ง if ใช้ในการตรวจสอบเงื่อนไข จะทำงานเมื่อเงื่อนไขหรือนิพจน์ที่อยู่ภายในเป็นจริง มาดูตัวอย่างกันว่าจะเขียนได้อย่างไร
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง if โปรแกรมตัดเกรด

1. รับค่าคะแนนสอบทั้งหมดเข้ามาในระบบ

2. ประมวณผลคะแนนสอบที่ได้ตัดเป็นเกรดออกมาตามเงื่อนไขดังนี้

   - คะแนน 80 ขึ้นไป แสดงข้อความว่า “คุณได้เกรด 4”

   - คะแนน 70-79 แสดงข้อความว่า “คุณได้เกรด 3”

   - คะแนน 60-69 แสดงข้อความว่า “คุณได้เกรด 2” 

   - คะแนน 50-59 แสดงข้อความว่า “คุณได้เกรด 1”

   - คะแนนน้อยกว่า 50 แสดงข้อความว่า “คุณได้เกรด 0”

3. แสดงเกรดออกทางจอภาพตามเงื่อนไขในข้อ 2

ตัวอย่างคำสั่งที่เขียนใน Python IDLE
ifgrade
หรือคัดลอกคำสั่งต่อไปนี้ไปวางลงในโปรแกรมไพธอน IDLE
score=int(input("กรอกคะแนนรวมที่นักเรียนสอบได้ "));
if(score>=80):
   print("คุณได้เกรด 4");
elif(score>=70):
   print("คุณได้เกรด 3");
elif(score>=60):
   print("คุณได้เกรด 2");
elif(score>=50):
   print("คุณได้เกรด 1");
elif(score<50):
   print("คุณได้เกรด 0");

ตัวอย่างโปรแกรมตัดเกรดแบบรับค่า 2 ค่า ใช้ร่วมกับตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์

ifgrade2
หรือคัดลอกคำสั่งต่อไปนี้ไปวางลงในโปรแกรมไพธอน IDLE

score1=int(input("กรอกคะแนนรวมกลางภาค "));
score2=int(input("กรอกคะแนนรวมหลังกลางภาค "));
total=int(score1+score2);
if(total>=80):
   print("คุณได้เกรด 4");
elif(total>=70):
   print("คุณได้เกรด 3");
elif(total>=60):
   print("คุณได้เกรด 2");
elif(total>=50):
   print("คุณได้เกรด 1");
elif(total<50):
   print("คุณได้เกรด 0");

 

 

ตัวอย่างการใช้ if ในภาษาไพธอนโปรแกรมปริมาณการรับประทานยาตามเงื่อนไขอายุ

phamacyj

การเขียนคำสั่งในโปรแกรม Python IDLE

agephamacy

หรือลองคัดลอกเอาคำสั่งต่อไปนี้ไปวางในโปรแกรม Python IDLE 

age=int(input("กรุณากรอกอายุของท่าน "));
if(age>=50):
     print("อายุคุณอยู่ในเกณฑ์ 50 ปีขึ้นไป รับประทานยา 3 ช้อนชา");
elif(age>=20):
     print("อายุคุณอยู่ในเกณฑ์ 20-49 ปี รับประทานยา 2 ช้อนชา");
elif(age>=10):
     print("อายุคุณอยู่ในเกณฑ์ 10-19 ปี รับประทานยา 1 ช้อนชา");
elif(age<10):
     print("อายุคุณอยู่ในเกณฑ์ น้อยกว่า 10 ปี รับประทานยา ครึ่ง ช้อนชา");

--------------------------------------------------------------------------------------

 โปรแกรมรับประทานยาชุดที่ 2
ifya

อธิบายคำสั่ง

โปรแกรมนี้จะรับค่าให้ผู้ใช้กรอกอายุเข้ามาทางคีย์บอร์ด แล้วเก็บอายุไว้ในตัวแปร age 
หมายเลข 1 รับค่าข้อมูลจากผู้ใช้ที่กรอกมาทางคีย์บอร์ด แล้วเก็บไว้ในตัาแปรชื่อว่า age

หมายเลข 2 ตรวจสอบเงื่อนไขถ้าอายุ 80 ปีขึ้นไป ให้โปรแกรมทำอะไร
หมายเลข 3 คำสั่งแสดงข้อความขนาดรับประทานยาเมื่ออายุอยู่ในเกณฑ์ตามหมายเลข 2 เป็นจริง

หมายเลข 4 ตรวจสอบเงื่อนไขถ้าอายุ 70 ปีขึ้นไป ให้โปรแกรมทำอะไร
หมายเลข 5 คำสั่งแสดงข้อความขนาดรับประทานยาเมื่ออายุอยู่ในเกณฑ์ตามหมายเลข 4 เป็นจริง

หมายเลข 6 ตรวจสอบเงื่อนไขถ้าอายุ 60 ปีขึ้นไป ให้โปรแกรมทำอะไร
หมายเลข 7 คำสั่งแสดงข้อความขนาดรับประทานยาเมื่ออายุอยู่ในเกณฑ์ตามหมายเลข 6 เป็นจริง

หมายเลข 8 ตรวจสอบเงื่อนไขถ้าอายุ 50 ปีขึ้นไป ให้โปรแกรมทำอะไร
หมายเลข 9 คำสั่งแสดงข้อความขนาดรับประทานยาเมื่ออายุอยู่ในเกณฑ์ตามหมายเลข 8 เป็นจริง

หมายเลข 10 ตรวจสอบเงื่อนไขถ้าอายุ 40 ปีขึ้นไป ให้โปรแกรมทำอะไร
หมายเลข 11 คำสั่งแสดงข้อความขนาดรับประทานยาเมื่ออายุอยู่ในเกณฑ์ตามหมายเลข 10 เป็นจริง

------------------------------------------------------------------------------------------------------

 แบบฝึกหัด/การบ้าน

ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมคำนวณภาษีลงในโปรแกรมภาษาไพธอน โดยมีเกณฑ์การคำนวณภาษีดังนี้ เขียนเสร็จถ่ายรูปหน้าจอพร้อมเขียนชื่อส่งในกลุ่มไลน์ห้องเรียน

vatrule

  • ฮิต: 607